วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 17
  •  อาจารย์อภิปรายซักถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นข้อดีข้อเสียในการใช้แท็บเลต เพื่อนๆแสดงความคิดเห็นดังนี้
  • ข้อเสีย
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5
- เด็กจะไม่เข้าสังคม เพราะมัวแต่เล่นแท็บเลต
- เด็กไม่สามารถเรียนรู้ด้วยรูปธรรม
-ทำให้เด็กขี้เกียดเขียนหนังสือ
  • ข้อดี
  • -สามารถเรียนรู้ได้กว้างขึ้น
-ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆๆเป็น
-ลดภาวะโลกร้อน
-สะดวกสบายและรวดเร็ว


  • วิเคราะห์ปัญหาเด็กไม่กล้าแสดงออก จากโทรทัศครู
       ดีมากๆเรยค่ะ สำหรับกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการแสดงออกของเด็กทำให้เด็กไม่รู้สึกอายแต่กลับรู้สึกสนุกสนานและยังช่วยกระตุ้นการคิดเรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยค่ะ สำหรับดิฉันในฐานะที่เป็นนักศึกษาปฐมวัยหรือว่าที่คุณครูปฐมวัยในอนาคตจำเป็นมากที่จะนำไปสอนเด็กๆ เมื่อดูวิดิโอชุดนี้แล้วก็รู้สึกว่านำไปปรับใช้ได้ และไม่ว่าจะป็นการสอนวิชาอะไรเด็กๆกล้าแสดงออกย่อมเป็นเรื่องที่ดีมากๆเลยค่ะ อยากให้คุณครูทุกๆคนที่รักเด็กๆเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้เพื่ออนาคตของชาตินะค่ะ!
    

  •  อาจารย์แจกกระดาษสติ๊กเกอร์ใสกลุ่มละสามแผ่นเพื่อให้แต่ละกลุ่มติดปฏิทินให้เรียบร้อย แล้วส่ง


ลงมือตัดสติ๊กเกอร์

ตัดสติ๊กเกอร์
เสร็จเรียบร้อยพร้อมส่งจ้า

สวยงาม  อิอิ

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 16

- อ.จ๋าอธิบายบล๊อค พร้อมทั้งครวจบลุ๊คเป็นรายบุคคล และบอกข้อที่ควรแก้ไข และเพิ่มเติมในของแต่ละคน

สิ่งที่ดิฉันควรเพิ่มเติม

-เพิ่มลิ้งวิจัยด้านภาษา 5 บท
-แหล่งเรียนรู้ที่หน้าสนใจ
- กิจกรรมส่งเสริมภาษาที่หน้าสนใจ
-องค์ความรู้จากภายนอก
-วิเคราะห์โทรทัศน์ครูจากการดู  จับคู่วิเคราะห์
- เพิ่มสามชิกในกลุ่มเรียนทั้งหมด

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 15

- อาจารย์ให้เล่านิทานที่แต่ละกลุ่มจับฉลากได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยมีนิทาน เล่าไปฉีกไป
เล่าไปวาดไป เล่าไปพับไป  เล่าไปตัดไป เล่าด้วยเชือก
- กลุ่มดิฉันได้เล่านิทานโดย เล่าไปพับไป นิทานมีชื่อเรื่องว่า "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก"
บรรยากาศตอนเล่านิทาน

ตั้งใจมากๆ

พับออกมาเป็นรูปปลา
- อาจารย์ถามความสามารถของนักศึกษา ว่าใครมีความสามารถด้านใดบ้าง
- อาจารย์สอนความรู้สาระที่สอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 
             - เด็กมีวิธีการเรียนรูด้วยการประสาทสัมผัสทั้ง 5
             - การเล่น คือ การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างอิสระด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 14

- อาจารย์แจกเพจตัวอักษรกับสี colleen คนละ 1 กล่อง


-อาจารย์สอนเทคนิคการสอนภาษา
     การฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียน สามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้โดยให้สังเกตว่าเวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร  ถ้าเด็กรู้สึกเครียด เบื่อ และครูรู้สึกไม่สนุกด้วยแสดงว่า การสอนภาษาของเราน่าจะไม่ถูกต้องเสียแล้ว
            -ในหนึ่งวันจะมีประสบการณ์ทางภาษาที่สอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน
                1. เล่าข่าว
                2.เซ็นชื่อมาเรียน
                3.เล่าประสบการณ์เสาร์อาทิตย์
                4.บูรณาการกิจกรรมประจำวัน  เช่น ศิลปะสร้างสรรค์

         แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา

1. ครูจะต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร(อิสระ)(สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของเขา)
2. ประสบการณ์ด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนเด็กได้รับประสบการณ์ด้านภาษามาบ้างแล้ว ระหว่างทางจากบ้านถึงโรงเรียนเด็กพบเห็นป้ายชื่อร้านอาหาร  ป้ายจราจร
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าเราสอนแบบ whole language  คือ
      - สอนอย่างธรรมชาติ
      - สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก เช่นเริ่มจากคำศัพท์ที่เด็กรู้จักคุ้นเคยมาก่อน
      - สอนให้เด็กสามารถนำคำที่สอนไปใช้ได้ด้วย เพราะถ้าเด็กไม่ได้นำไปใช้ เด็กจะเรียนรู้ไม่ได้ดี
- อาจารย์ให้ไปฟังพระเทศนาธรรม ที่ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม








บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 13

- อาจารย์ให้เขียนคำรณรณรงค์งดเหล้าเป็นคู่
1.สุราเป็นยาพิษ พวกเราอย่าหลงผิด ยึดติดมันเลย / ส้ม ภา

2.เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป้นตับแข็ง / มะปรางค์

3.สุราเป็นพิษ ดื่มนิดๆก้ติดใจ ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลดื่มสุรา / แอม / แอ้ม

4.สุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่ม / ฝน /ริตา

5.สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง / แป้ง / แอน

6.สุราใช่มีค่า อย่าสันหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา / กิ๊ฟ /ซะห์

7.สุราไม่ใช่พ่อ จะไปง้อมันทำไม / แกม /เบลล์

8.สุราน่ารักเกียด ทำให้เครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปรง อย่าไปหลงลองมันเลย / ศิ /หนูนา

9.สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย / ปูนิ่ม /นุ่น

10.เสียเหงื่อให้กีฬา ดีกว่าเงินตราให้ค่าเหล้า / แอม /วาว

11.ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว / โอม /โอ

12.สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่ากว่าใครๆ / หลัน/ จ๋า

13.ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเมาเพื่อมรระภาพ / สา/ กุ้ง

14.สุราลองแล้วผิด อย่าได้้คิดติดมันเลย / วาร่า/ แก้ว

15.รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา /

16.สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและภัย ดื่มแล้วจะติด เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า / บี /รัตน์

................................................................................................................................................................
- อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน


การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม
images/stories/alf34.jpg เรื่องย่อ
อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


แนวคิดสำคัญ

images/stories/alf35.png แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
images/stories/alf35.png การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ
images/stories/alf35.png เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ

images/stories/alf1.jpg images/stories/alf2.jpg
หลังจากที่ครูเล่าเรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" ให้เด็กฟังแล้ว เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนกันออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง ทั้งการเล่าเรื่องจากหนังสือนิทาน และเล่าเรื่องโดยการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากนิทาน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราว เด็กได้ฝึกแปลความ ตีความ คาดคะเนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง และเก็บประเด็นสำคัญ แล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราว แล้วพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่าน

images/stories/alf3.jpg images/stories/alf4.jpg images/stories/alf5.jpg images/stories/alf6.jpg
เด็กๆ แสดงละครสร้างสรรค์เรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" โดยครูช่วยเล่าเรื่องเด็กๆ พูดและแสดงบทบาทตามความรู้สึกของตนเอง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมในการนำเสนอความคิดด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

images/stories/alf7.jpg images/stories/alf8.jpg
images/stories/alf9.jpg images/stories/alf10.jpg
เด็กๆ ช่วยกันประดิษฐ์ช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งทำให้เด็กรู้จักการทำงานตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ฉีกกระดาษ ทากาว ปะกระดาษบนกล่อง นำฟองน้ำจุ่มสีมาปั๊มที่ตัวช้าง ติดขา ติดงวง ติดหาง ทาสีเพิ่มเติม และติดตา เด็กๆ ได้ทำงานแบบร่วมมือ มีความคิดในเรื่องของการประดิษฐ์ของเล่นด้วยตนเอง รวมทั้งมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม

images/stories/alf11.jpg images/stories/alf12.jpg
เด็กๆ เล่นเกมจับคู่ช้างที่เหมือนกัน เด็กๆ สนุกกับการสังเกตความเหมือนและความต่างของภาพ และตามหาเพื่อนที่ได้รูปช้างรูปเดียวกัน

images/stories/alf13.jpg images/stories/alf14.jpg images/stories/alf15.jpg
เด็กๆ ประดิษฐ์ช้างด้วยการบีบกาวตามแนวเส้น แล้วนำทรายสีมาโรย เด็กๆฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กและได้เรียนรู้ว่าทรายติดอยู่เฉพาะส่วนที่มีกาวเท่านั้น

images/stories/alf16.jpg เด็กๆ ประดิษฐ์ดอกทานตะวันเพื่อสร้างฉากในห้องเรียน เช่นเดียวกับปกหนังสือนิทานเรื่องช้างน้อยอัลเฟรด เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กรรไกร ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กอีกทั้งยังมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงามอีกด้วย
images/stories/alf17.jpg images/stories/alf18.jpg เรื่องของช้างน้อยอัลเฟรดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสวนสัตว์การไปทัศนศึกษาที่สวนสัตว์ดุสิตจึงทำให้เด็กได้เชื่อมโยงเรื่องราวในนิทานกับสถานที่จริง ได้สังเกตช้างอย่างใกล้ชิด ได้ให้อาหารช้างเห็นรูปจำลองช้างหลายรูปแบบรวมทั้งได้เล่นกระดานลื่นเหมือนในนิทานด้วย
images/stories/alf19.jpg images/stories/alf20.jpg images/stories/alf21.jpg images/stories/alf22.jpg

images/stories/alf23.jpg เด็กๆ สังเกตรูปนูนต่ำช้างที่รั้วบ้านตรงข้ามกับโรงเรียนกิจกรรมนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของช้างได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากสามารถจับต้องได้อย่างใกล้ชิด ทำให้เด็กบางคนมีการเปลี่ยนแปลงการวาดรูปช้างอย่างเห็นชัด


images/stories/alf24.jpg images/stories/alf25.jpg
เด็กๆ ต่างประหลาดใจมากเมื่อระบายสีกระดาษแล้วพบช้างงวงยาว ช้างหูใหญ่ และช้างขายาวซึ่งแตกต่างกัน เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจำแนกช้างที่แตกต่างกัน รวมทั้งเรียนรู้ว่าแม้เราจะต่างกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข


images/stories/alf26.jpg images/stories/alf27.jpg images/stories/alf28.jpg images/stories/alf29.png
เด็กๆ ใช้พิมพ์กดขนมปัง และตกแต่งด้วยแยม เพื่อทำเป็นขนมปังรูปช้าง เด็กๆ ได้ใช้xระสาทสัมผัสทั้งห้า ตั้งแต่การมองเห็น สัมผัส ได้ยินเสียงถุงขนม เสียงจากขวดแยมได้ดมกลิ่น และได้ลิ้มรส ซึ่งเป็นประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญของการคิด

images/stories/alf30.jpg images/stories/alf31.jpg
น้องเมเปิ้ลบอกน้องบุษย์ว่า "ไม่ต้องกลัว เดี๋ยวจะช่วยลงมาจากกระดานลื่น" แล้วน้องเมเปิ้ลก็ทำท่าทางของช้างแล้วไปจับมือน้องบุษย์ น้องเมเปิ้ลเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงนิทานกับชีวิตจริง

images/stories/alf32.png
เด็กๆ ทำท่าทางประกอบเพลงช้างน้อยอัลเฟรด กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนาน ฝึกการทรงตัว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

-  อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย

  
วัตถุประสงค์ของเพลง

- เชิญชวนท่องเที่ยว, แนะนำธรมมชาติ

- เพื่อนนำเสนองานการไปสัมภาษณ์เด็กกลุ่มที่เหลือ
- อาจารย์มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ให้ออกมาเล่านิทานตามที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมายสัปดาห์หน้า  มีนิทานดังนี้
        - เล่าไปตัดไป
        - เล่าไปวาดไป
        - เล่าไปพับไป
        - เชือก
        - เล่าไปฉีกไป


บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 12

- อบรมเชิงปฏิบัติการ *การสร้างสื่อประยุกต์*
 วันที่ 25-26 ส.ค 2555 ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษาพัฒนาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
พุทธรักษาแทนใจมอบให้พ่อ
รู้ไหมหนอลูกรักพ่อเท่าชีวัน
พระคุณพ่อล้ำค่าอเนกอนันต์
พ่อของฉันเป็นคนดีที่หนึ่งเรย
พระคุณแม่
                                                           แม่จ๋า แม่จ๋า        ตั้งหน้า ตั้งตา
                                                       หาข้าว ของให้        ให้นม ให้น้ำ
                                                       แม่ทำ ทั่วไป            เพราะความ รักใคร่
                                                       น้ำใจ แม่ดี               ให้กิน ให้นอน
                                                       แม่กก แม่สอน         ให้เล่น เต็มที่
                                                       หาใคร รักเท่า          แม่เรา ไม่มี
                                                           น้ำใจ แม่นี้            ความรัก อย่างนี้
เป็นศรี ลูกเอย...
- วันนี้ รองผู้อำนวยการศิริพร  แย้มเงิน ได้สอนการทำดอกพุทธรักษา(ตัดกระดาษ) มีขั้นตอนทำดังนี้
 
นำกระดาษสีส้มมาตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส


พับกระดาษเข้าหากันให้เป็นสามเหลี่ยม พับ 3 ครั้ง




ใช้กรรไกรตัดตามภาพด้านบน

พอตัดเสร็จแร้ว ก็คลี่กระดาษออกมา ก็จะเป็นดอก ดังภาพ และให้ปากกาเมจิขีดตามภาพ

ใช้ปลายกรรไกรดัดแต่ละกรีบของดอกไม้เพื่อให้มีความโค้งเหมือนดอกไม้จิงมากขึ้น

ใช้มือของเราขยุบตรงกลางเพื่อให้เป็นดอกดังภาพ

ใช้กระดาษสีเขียวมาตัดเป็นใบ เพื่อเพิ่มความเหมือนดอกจริงๆ มีความมีชีวิตชีวา

นำดอกพุทธรักษาที่เราตัดได้มาติดกับใบเพื่อให้เกิดความสวยงามดังภาพ  สามารถนำไปจัดบอร์ด  หรือนำไปให้พ่อในวันพ่อก็ได้ ^^