วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 13

- อาจารย์ให้เขียนคำรณรณรงค์งดเหล้าเป็นคู่
1.สุราเป็นยาพิษ พวกเราอย่าหลงผิด ยึดติดมันเลย / ส้ม ภา

2.เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป้นตับแข็ง / มะปรางค์

3.สุราเป็นพิษ ดื่มนิดๆก้ติดใจ ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลดื่มสุรา / แอม / แอ้ม

4.สุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่ม / ฝน /ริตา

5.สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง / แป้ง / แอน

6.สุราใช่มีค่า อย่าสันหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา / กิ๊ฟ /ซะห์

7.สุราไม่ใช่พ่อ จะไปง้อมันทำไม / แกม /เบลล์

8.สุราน่ารักเกียด ทำให้เครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปรง อย่าไปหลงลองมันเลย / ศิ /หนูนา

9.สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย / ปูนิ่ม /นุ่น

10.เสียเหงื่อให้กีฬา ดีกว่าเงินตราให้ค่าเหล้า / แอม /วาว

11.ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว / โอม /โอ

12.สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่ากว่าใครๆ / หลัน/ จ๋า

13.ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเมาเพื่อมรระภาพ / สา/ กุ้ง

14.สุราลองแล้วผิด อย่าได้้คิดติดมันเลย / วาร่า/ แก้ว

15.รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา /

16.สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและภัย ดื่มแล้วจะติด เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า / บี /รัตน์

................................................................................................................................................................
- อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน


การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม
images/stories/alf34.jpg เรื่องย่อ
อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


แนวคิดสำคัญ

images/stories/alf35.png แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
images/stories/alf35.png การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ
images/stories/alf35.png เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ

images/stories/alf1.jpg images/stories/alf2.jpg
หลังจากที่ครูเล่าเรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" ให้เด็กฟังแล้ว เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนกันออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง ทั้งการเล่าเรื่องจากหนังสือนิทาน และเล่าเรื่องโดยการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากนิทาน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราว เด็กได้ฝึกแปลความ ตีความ คาดคะเนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง และเก็บประเด็นสำคัญ แล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราว แล้วพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่าน

images/stories/alf3.jpg images/stories/alf4.jpg images/stories/alf5.jpg images/stories/alf6.jpg
เด็กๆ แสดงละครสร้างสรรค์เรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" โดยครูช่วยเล่าเรื่องเด็กๆ พูดและแสดงบทบาทตามความรู้สึกของตนเอง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมในการนำเสนอความคิดด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

images/stories/alf7.jpg images/stories/alf8.jpg
images/stories/alf9.jpg images/stories/alf10.jpg
เด็กๆ ช่วยกันประดิษฐ์ช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งทำให้เด็กรู้จักการทำงานตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ฉีกกระดาษ ทากาว ปะกระดาษบนกล่อง นำฟองน้ำจุ่มสีมาปั๊มที่ตัวช้าง ติดขา ติดงวง ติดหาง ทาสีเพิ่มเติม และติดตา เด็กๆ ได้ทำงานแบบร่วมมือ มีความคิดในเรื่องของการประดิษฐ์ของเล่นด้วยตนเอง รวมทั้งมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม

images/stories/alf11.jpg images/stories/alf12.jpg
เด็กๆ เล่นเกมจับคู่ช้างที่เหมือนกัน เด็กๆ สนุกกับการสังเกตความเหมือนและความต่างของภาพ และตามหาเพื่อนที่ได้รูปช้างรูปเดียวกัน

images/stories/alf13.jpg images/stories/alf14.jpg images/stories/alf15.jpg
เด็กๆ ประดิษฐ์ช้างด้วยการบีบกาวตามแนวเส้น แล้วนำทรายสีมาโรย เด็กๆฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กและได้เรียนรู้ว่าทรายติดอยู่เฉพาะส่วนที่มีกาวเท่านั้น

images/stories/alf16.jpg เด็กๆ ประดิษฐ์ดอกทานตะวันเพื่อสร้างฉากในห้องเรียน เช่นเดียวกับปกหนังสือนิทานเรื่องช้างน้อยอัลเฟรด เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กรรไกร ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กอีกทั้งยังมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงามอีกด้วย
images/stories/alf17.jpg images/stories/alf18.jpg เรื่องของช้างน้อยอัลเฟรดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสวนสัตว์การไปทัศนศึกษาที่สวนสัตว์ดุสิตจึงทำให้เด็กได้เชื่อมโยงเรื่องราวในนิทานกับสถานที่จริง ได้สังเกตช้างอย่างใกล้ชิด ได้ให้อาหารช้างเห็นรูปจำลองช้างหลายรูปแบบรวมทั้งได้เล่นกระดานลื่นเหมือนในนิทานด้วย
images/stories/alf19.jpg images/stories/alf20.jpg images/stories/alf21.jpg images/stories/alf22.jpg

images/stories/alf23.jpg เด็กๆ สังเกตรูปนูนต่ำช้างที่รั้วบ้านตรงข้ามกับโรงเรียนกิจกรรมนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของช้างได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากสามารถจับต้องได้อย่างใกล้ชิด ทำให้เด็กบางคนมีการเปลี่ยนแปลงการวาดรูปช้างอย่างเห็นชัด


images/stories/alf24.jpg images/stories/alf25.jpg
เด็กๆ ต่างประหลาดใจมากเมื่อระบายสีกระดาษแล้วพบช้างงวงยาว ช้างหูใหญ่ และช้างขายาวซึ่งแตกต่างกัน เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจำแนกช้างที่แตกต่างกัน รวมทั้งเรียนรู้ว่าแม้เราจะต่างกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข


images/stories/alf26.jpg images/stories/alf27.jpg images/stories/alf28.jpg images/stories/alf29.png
เด็กๆ ใช้พิมพ์กดขนมปัง และตกแต่งด้วยแยม เพื่อทำเป็นขนมปังรูปช้าง เด็กๆ ได้ใช้xระสาทสัมผัสทั้งห้า ตั้งแต่การมองเห็น สัมผัส ได้ยินเสียงถุงขนม เสียงจากขวดแยมได้ดมกลิ่น และได้ลิ้มรส ซึ่งเป็นประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญของการคิด

images/stories/alf30.jpg images/stories/alf31.jpg
น้องเมเปิ้ลบอกน้องบุษย์ว่า "ไม่ต้องกลัว เดี๋ยวจะช่วยลงมาจากกระดานลื่น" แล้วน้องเมเปิ้ลก็ทำท่าทางของช้างแล้วไปจับมือน้องบุษย์ น้องเมเปิ้ลเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงนิทานกับชีวิตจริง

images/stories/alf32.png
เด็กๆ ทำท่าทางประกอบเพลงช้างน้อยอัลเฟรด กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนาน ฝึกการทรงตัว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

-  อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย

  
วัตถุประสงค์ของเพลง

- เชิญชวนท่องเที่ยว, แนะนำธรมมชาติ

- เพื่อนนำเสนองานการไปสัมภาษณ์เด็กกลุ่มที่เหลือ
- อาจารย์มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ให้ออกมาเล่านิทานตามที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมายสัปดาห์หน้า  มีนิทานดังนี้
        - เล่าไปตัดไป
        - เล่าไปวาดไป
        - เล่าไปพับไป
        - เชือก
        - เล่าไปฉีกไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น